การจัดเสวนาให้ความคิดเห็นต่อร่างกฎหมาย ร่างพระราชบัญญัติสถาปนิก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ...

04 ม.ค. 2564



กระบวนการพิจารณาแก้ไข พระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. 2543 ให้ทันความเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมและบริบทการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 ในช่วงที่ รศ. ยุพยง เหมะศิลปิน ดำรงตำแหน่งนายกสภาสถาปนิก และถูกผลักดันอย่างต่อเนื่องในทุกวาระการดำรงตำแหน่งของนายกสภาสถาปนิกทุกท่าน จนกระทั่งในวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา ร่างพระราชบัญญัติสถาปนิก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... ก็ได้ดำเนินมาถึงกิจกรรมเสวนาให้ความเห็นต่อร่างกฎหมาย พระราชบัญญัติสถาปนิก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. … ซึ่งจัดขึ้นที่ห้องประชุม

การจัดเสวนาให้ความคิดเห็นต่อร่างกฎหมาย ร่างพระราชบัญญัติสถาปนิก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ...
กระบวนการพิจารณาแก้ไข พระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. 2543 ให้ทันความเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมและบริบทการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 ในช่วงที่ รศ. ยุพยง เหมะศิลปิน ดำรงตำแหน่งนายกสภาสถาปนิก และถูกผลักดันอย่างต่อเนื่องในทุกวาระการดำรงตำแหน่งของนายกสภาสถาปนิกทุกท่าน จนกระทั่งในวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา ร่างพระราชบัญญัติสถาปนิก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... ก็ได้ดำเนินมาถึงกิจกรรมเสวนาให้ความเห็นต่อร่างกฎหมาย พระราชบัญญัติสถาปนิก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. … ซึ่งจัดขึ้นที่ห้องประชุมใหญ่สภาสถาปนิก โดยได้รับเกียรติจาก นายกสภาสถาปนิก พล.อ.ต. ม.ล. ประกิตติ เกษมสันต์ กรรมการสภาสถาปนิก / ประธานอนุกรรมการต่างประเทศ รศ.ดร. พงศ์ศักดิ์ วัฒนสินธุ์ กรรมการจรรรยาบรรณ / อนุกรรมการตรวจร่างข้อบังคับฯ นายสุพินท์ เรียนศรีวิไล ผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมายการค้าภายใน สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ดร.วันดี สุชาติกุลวิทย์ และ หัวหน้ากลุ่มงานกฎหมายโยธาและวิชาชีพ กรมโยธาธิการและผังเมือง คุณนารีนุช กลั่นแก้ว โดยหลังจากที่ผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านได้ชี้แจงรายละเอียดของร่างกฎหมาย และขั้นตอนการทำงานร่วมกันของหน่วยงานแล้วเสร็จ จึงเปิดโอกาสให้สมาชิกสภาสถาปนิก และตัวแทนจากหน่วยงานต่างๆ ที่เข้าร่วมประชุมให้ความคิดเห็น โดยสภาสถาปนิกและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา จะรวบรวมความเห็นที่เกี่ยวข้องกับร่างพระราชบัญญัติสภาสถาปนิก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... ในสรุปรายงานการประชุมและเผยแพร่ต่อสมาชิกสภาสถาปนิกต่อไป

สาระสำคัญการเปลี่ยนแปลงในร่างพระราชบัญญัติสถาปนิก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... มีทั้งหมด 4 ข้อนั่นคือ 

  1. การประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมตามความตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีพันธกรณี
    มีวัตถุประสงค์เพื่อวางกฎเกณฑ์ เงื่อนไข และกลไกเพื่อ เปิดโอกาสให้สถาปนิกต่างชาติที่ได้รับอนุญาตสามารถเข้ามาประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมตามกรอบข้อตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีพันธกรณี และสภาสถาปนิกสามารถควบคุมการทำงานของ “สถาปนิกต่างชาติ” ที่เข้ามาประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมในโครงการที่เป็นความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและต่างชาติ 
    สถาปนิกต่างชาติ คือบุคคลที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากประเทศที่สภาสถาปนิกรับรอง และต้องเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายในโครงการข้อตกลงระหว่างประเทศที่ไทยมีพันธกรณี กล่าวคือ สถาปนิกจากประเทศสมมติ A ที่มีข้อตกลงระหว่างประเทศไทยนั้น จะสามารถปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรมในโครงการที่ไทยเป็นพันธกรณีเท่านั้น โดยไม่สามารถปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรมโครงการที่นอกเหนือไปจากนั้นได้ นอกจากนี้ ยังมีการกำหนดให้สถาปนิกต่างชาติ ต้องปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพสถาปัตยกรรมตามข้อบังคับสภาสถาปนิกและระเบียบของคณะกรรมการสภาสถาปนิก และกำหนดบทลงโทษ รวมทั้งกำหนดให้นำบทบัญญัติที่เกี่ยวกับคณะกรรมการจรรยาบรรณ กระบวนการพิจารณาการประพฤติผิดจรรยาบรรณของผู้ได้รับใบอนุญาตมาใช้บังคับได้โดยอนุโลม
  2. ด้านจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพสถาปัตยกรรม
    มีวัตถุประสงค์เพื่อบังคับใช้จรรยาบรรณกับสมาชิกสภาสถาปนิก (ครอบคลุมถึงสถาปนิกต่างชาติ) และปรับปรุงกระบวนการจรรยาบรรณให้มีความเหมาะสมและเป็นธรรมมากขึ้น ประกอบไปด้วย
    1) การปรับแก้ที่มาของกรรมการจรรยาบรรณ กำหนดให้ตั้งกรรมการสรรหาคณะกรรมการจรรยาบรรณ และกำหนดเพิ่มคุณสมบัติต้องห้ามของกรรมการจรรยาบรรณว่า ต้องไม่เป็นผู้ที่ดำรงตำแหน่งกรรมการสภาสถาปนิก เพื่อให้เกิดกระบวนการที่เป็นธรรม และไม่เกิดความสงสัยต่อการมีส่วนได้ส่วนเสียของกรรมการจรรยาบรรณ เมื่อมีการอุทธรณ์คำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการจรรยาบรรณ ไปยังคณะกรรมการสภาสถาปนิก 
    2) กำหนดให้สภาสถาปนิกสามารถดำเนินการควบคุมจรรยาบรรณต่อสมาชิกสภาสถาปนิก ทั้งสมาชิกที่มีใบอนุญาตฯ และไม่มีใบอนุญาตฯ และครอบคลุมไปถึงประเภทของงานที่ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ต้องขอใบอนุญาตฯ เพื่อควบคุมไม่ให้เกิดความเสียหายต่อสาธารณะและเสื่อมเสียต่อวิชาชีพสถาปัตยกรรม
    3) การปรับปรุงกระบวนการจรรยาบรรณ การกล่าวหา/กล่าวโทษ - วินิจฉัย - อุทธรณ์ ให้ยุติธรรมและเหมาะสมมากขึ้น ทั้งต่อฝั่งผู้ร้องเรียนและสถาปนิกผู้ถูกร้องเรียน กล่าวคือ ครั้งนี้มีการเพิ่มเติมให้ทางฝั่งผู้ร้องเรียน สามารถยื่นอุทธรณ์แก่คณะกรรมการสภาสถาปนิก หากไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการจรรยาบรรณ จากแต่เดิมที่ สถาปนิกผู้ถูกร้องเรียนเท่านั้นที่จะมีสิทธิ์ยื่นอุทธรณ์ รวมถึงการกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดของการกล่าวหาและการกล่าวโทษ
  3. การกำหนดวัตถุประสงค์ของสภาสถาปนิกเพิ่มเติม เกี่ยวกับการกำหนดมาตรฐานวิชาการเพื่อประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม
    มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บทบัญญัติของพระราชบัญญัติสถาปนิกสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 โดยการกำหนดมาตรฐานวิชาการเพื่อการประกอบวิชาชีพด้านสถาปัตยกรรม ซึ่งมีหลักเกณฑ์ 3 ข้อคือ การศึกษา(education),การทดสอบ(examination),การเพิ่มพูนทักษะจากประสบการณ์(skill enhancement from experiences) กล่าวคือ สภาสถาปนิกจะพิจารณาหลักสูตรสถาปัตยกรรมของสถาบันการศึกษาจาก จำนวนหน่วยกิตของรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับ 3 หลักเกณฑ์ข้างต้น
  4. การแก้ไขเพิ่มเติมอัตราค่าธรรมเนียมท้ายพระราชบัญญัติให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน
    เมื่อมีการกำหนดเพดานอัตราค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมสำหรับการขึ้นทะเบียนที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพระหว่างประเทศตามความตกลงระหว่างประเทศ การกำหนดเพดานอัตราค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมสำหรับการขึ้นทะเบียนอื่นๆ จึงสมควรที่จะถูกปรับแก้ไปพร้อมกัน เพื่อรองรับสภาพเศรษฐกิจในอนาคต เนื่องจากเป็นอัตราค่าธรรมเนียมที่ถูกกำหนดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 

โดยหลังจากที่สภาสถาปนิกได้นำเสนอร่างพ.ร.บ. กับกระทรวงมหาดไทย และได้รับคำแนะนำให้ปรับเพดานค่าธรรมเนียมเพิ่มจากเดิม 5 เท่า เพื่อให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าเงินในอนาคต เพราะการแก้พระราชบัญญัติแต่ละครั้งนั้น มีหลายขั้นตอนและต้องใช้เวลาดำเนินการยาวนาน อย่างไรก็ดี ในการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และความเห็นจากหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องได้ให้คำปรึกษาเพิ่มเติม จึงได้ข้อสรุปของการปรับอัตราเพดานค่าธรรมเนียมเป็น 2 เท่าจากอัตราเดิม ทั้งนี้ประเด็นเรื่องการเพิ่มเพดานอัตราค่าธรรมเนียมนั้นเป็นประเด็นที่สมาชิกสภาสถาปนิกหลายท่านได้ให้ความเห็นถึงความเหมาะสม สภาสถาปนิกขอชี้แจงว่า การกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมท้ายพระราชบัญญัติเป็นเพียงการกำหนดเพดานอัตราค่าธรรมเนียมเท่านั้น และหากเมื่อถึงเวลาจำเป็นในการปรับค่าธรรมเนียมเพิ่ม จะต้องกำหนดเป็นกฎกระทรวงและต้องผ่านการรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกเสียก่อน โดยการออกกฎกระทรวงเป็นอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย



<< ดูทั้งหมด >>