สมัครสมาชิกใหม่
สมัคร
สมาชิกใหม่.
สมัครสอบและอบรมผู้ขอรับใบอนุญาตฯ
สมัครสอบ
อบรม รับใบอนุญาต
อบรม
รับใบอนุญาต
การต่ออายุใบนุญาตฯ
ตรวจสอบหลักสูตรและสถาบัน
ตรวจสอบหลักสูตร
และสถาบันที่รับรอง
พวต. บทความ E-Learning
พวต. บทความ
E-Learning
certificate
สมัครสถาปนิกอาสา
สมัคร
สถาปนิกอาสา
รับฟังความคิดเห็น
รับฟังข้อคิดเห็น
ทางกฎหมาย
หลักสูตร EXACT
หลักสูตร
EXACT
คำสั่งคณะกรรมการจรรยาบรรณ
คำสั่งคณะกรรมการ
จรรยาบรรณ
ข้อหารือกฏหมายควบคุมอาคาร
ข้อหารือกฏหมาย
ควบคุมอาคาร
Asean Architect
ACT SHOP


การเปิดเสรีการค้าบริการวิชาชีพสถาปัตยกรรม

การเจรจาเปิดตลาดการค้าบริการในกลุ่มประเทศสมาชิก ASEAN ดำเนินการไปในกรอบความตกลงว่าด้วยบริการของอาเซียน (ASEAN Framework Agreement on Service: AFAS) ทั้งนี้ภายใต้ปฏิญญาแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community Blueprint) ได้มีการกำหนดให้การเปิดตลาดการค้าบริการให้บรรลุเป้าหมายเป็นตลาดการค้าบริการที่เสรีและเป็นตลาดเดียวภายในปี พ.ศ.2558 (ค.ศ. 2015) นอกจากนั้นแล้วสมาชิกอาเซียน ยังได้อาศัยอำนาจตามกรอบความตกลงของ AFAS ในการจัดเตรียมการยอมรับร่วมกันของอาเซียนด้านการบริการสถาปัตยกรรม (ASEAN Mutual Recognition Arrangement on Architectural Services: MRAs) เพื่อรับรองมาตรฐานการศึกษา ประสบการณ์การทำงานวิชาชีพสถาปัตยกรรม ในการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพให้กับผู้ประกอบวิชาชีพที่เป็นสมาชิกอาเซียน ซึ่งเป็นมาตรฐานเพื่อให้สถาปนิกในกลุ่มประเทศสมาชิกสามารถเคลื่อนย้ายเข้าไปทำงานในกลุ่มประเทศอาเซียนได้

ปัจจุบันประเทศไทยมีการผูกพันการเปิดตลาดการค้าบริการวิชาชีพสถาปัตยกรรม และตลาดวิชาชีพผังเมืองและภูมิสถาปัตยกรรมภายใต้กรอบ AFAS ดังนี้

Mode 1 การให้บริการแบบข้ามพรมแดน-ไม่มีข้อจำกัด (None)

ไทยผูกพันการให้บริการข้ามแดนแบบไม่มีข้อกีดกัน แต่ก็มีการสงวนกรณีที่มีการให้บริการข้ามพรมแดนมายังไทย บริการนั้นต้องได้รับการรับรองจากสถาปนิกซึ่งได้รับ

Mode 2 การใช้บริการในต่างประเทศ-ไม่มีข้อจำกัด (None)

อนุญาตให้คนไทยไปใช้บริการสถาปัตยกรรมในต่างประเทศได้โดยไม่มีข้อจำกัด

Mode 3 การจัดตั้งกิจการในต่างประเทศ-อนุญาตให้นักลงทุนอาเซียนเข้ามาจัดตั้งธุรกิจได้ไม่เกิน 49 %

ไทยอนุญาตให้นักลงทุนอาเซียนเข้ามาตั้งธุรกิจในไทย โดยยังคงเงื่อนไขสัดส่วนการถือหุ้นต่างชาติไม่เกิน 49% จำนวนผู้ถือหุ้นไม่เกินกึ่งหนึ่งไว้ตามเดิม แต่เพิ่มประเภทนิติบุคคลให้เข้ามาจดทะเบียนจัดตั้งในรูปห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน นอกเหนือจากบริษัทจำกัดโดยมีเงื่อนไขว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือห้างหุ้นส่วนสามัญนั้น หุ้นส่วนผู้จัดการต้องมีสัญชาติไทยและผู้จัดการต้องได้รับใบอนุญาตจากสภาสถาปนิก/สภาวิศวกร

Mode 4 การเดินทางเข้าประเทศของบุคลากรผู้ให้บริการ-ไม่มีข้อผูกพัน (Unbound)

ไทยยังไม่ผูกพันให้บุคลากรอาเซียนเข้ามาทำงานในสาขานี้ อย่างไรก็ตามตามกรอบ AFAS ได้มีการเจรจาการเพื่อลดข้อจำกัด ด้านการค้าบริการระหว่างกันอย่างต่อเนื่องเป็นรอบๆ ภายใต้หลักการ "การเปิดเสรีก้าวหน้าอย่างเป็นลำดับ" โดยภายใต้กรอบการเจรจาชุดดังกล่าว มีเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนการให้บริการจัดตั้งธุรกิจ (Mode 3) สำหรับการให้บริการวิชาชีพสถาปัตยกรรม บริการผังเมือง และภูมิสถาปัตยกรรมจากเดิม เป็นกรอบที่องค์กรวิชาชีพ คือ สภาสถาปนิก ต้องดำเนินการเจรจาเพื่อกำหนดเงื่อนไขแนวทางการจัดทำตารางข้อผูกพันให้เกิดความเท่าเทียมกับวิชาชีพในประเทศไทย เพื่อรองรับการเข้ามาทำงานของสถาปนิกในกลุ่มอาเซียนตามแผนงานสู่การเป็นประชาคมเศรฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี พ.ศ.2558 ตามที่รัฐบาลกำหนดไว้ทั้งนี้ จากการประชุมคณะกรรมการประสานงานด้านการค้าบริการของอาเซียน (CCS) ครั้งที่ 63 และเป็นการประชุมสภาสถาปนิกแห่งอาเซียนครั้งที่ 6 ณ กรุงมากาตี ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศไทยรับมอบตำแหน่งเป็นสำนักงานเลขาธิการสภาสถาปนิกแห่งอาเซียน (ASEAN ARCHITECT COUNCIL: AAC) ต่อจากประเทศมาเลเซียในเดือนกรกฎาคม 2554 โดยมีวาระดำเนินการ 2 ปี เพื่อดำเนินการโครงการสถาปนิกอาเซียน จึงนับเป็นโอกาสที่ดีที่สภาสถาปนิกในฐานะองค์กรวิชาชีพจะดำเนินการต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางในการเปิดเสรีและการเจรจาร่วมกับกลุ่มประเทศอื่นอย่างมีศักยภาพและเท่าเทียมกันในกลุ่มประเทศสมาชิกต่อไป

ข่าวสภาสถาปนิก
ผลการประชุมสภาสถาปนิกเเห่งอาเซียน

สภาสถาปนิก เลขที่ 12 ถนนพระราม 9 (ปากซอย 36) แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240
โทรศัพท์: 02-318-2112 โทรสาร: 02-318-2131-2, E-mail: office@act.or.th

Architect Council of Thailand
12 RAMA 9 Rd. (Soi 36) Huamark Bangkapi, Bangkok Thailand 10240
Tel:+66 2 318 2112 Fax: +66 2 318 2121-2 E-mail: office@act.or.th